วันนี้ได้ยิ้มหัวขำขันกับโลกแต่เช้า
เมื่อได้อ่านข่าวสั้นข่าวหนึ่งในหนังสือพิมพ์ฟรีฉบับวานนี้
เป็นข่าวของคุณบิล เกตส์ที่ใครๆก็รู้จัก
http://septimustidbits.blogspot.com
“ฉันรู้ว่าเมืองไทยเป็นเมืองแห่งรอยยิ้ม และเป็นที่ที่ประชาธิปไตยกำลังเติบโต แม้บางครั้งการเมืองไทยจะมีความเผ็ดร้อนยิ่งกว่าอาหารไทย”
“ประเทศชาติต้องมาก่อน การเมืองมาแล้วก็ไป คนแพ้และชนะการเลือกตั้งทันทีที่การเลือกตั้งจบลง คุณอาจยังมีความเห็นด้านนโยบายที่ไม่ตรงกัน แต่เราควรพยายามเดินหน้าไปด้วยกัน เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติ”
“มันเป็นยุคของผู้นำที่เป็นคนหนุ่มสาวอายุน้อยกว่าเรา พวกเขาเต็มไปด้วยพลังความใส่ใจและทำงานหนัก……ฉันรู้สึกประทับใจกับการที่มีผู้นำคนรุ่นใหม่เพิ่มขึ้น หวังว่าคนรุ่นใหม่จะเรียนรู้ข้อผิดพลาดของคนรุ่นเก่า และเข้าใจว่ารัฐบาลต้องทำงานเพื่อประชาชน โดยเฉพาะในระบอบประชาธิปไตย คุณต้องแสดงให้เห็นว่ามีความหวังในการเปลี่ยนแปลง เพื่อช่วยผู้คนให้มีทรัพย์สิน สร้างแรงบันดาลใจให้แก่ลูกหลาน”
“ในประเทศเรา เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลง เราพยายามทำงานร่วมกันเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ ในระบบของเรา เมื่อประธานาธิบดีขอให้คุณเข้ามาทำหน้าที่ คุณรู้สึกว่าควรทำเพื่อให้ประธานาธิบดีประสบความสำเร็จ และประธานาธิบดีก็ขอให้คนจากพรรครีพับลิกันมาทำงานให้ด้วย ไม่เฉพาะจากพรรคเดโมแครต”
[คำให้สัมภาษณ์ของคุณฮิลลารี คลินตัน
รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ
อดีตสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง
ในรายการ ชีพจรโลก ของคุณสุทธิชัย หยุ่น]
นึกไม่ถึงว่าเราจะมีโอกาสได้อ่านบทวิจารณ์สี่แผ่นดินของฝรั่งออสซี่ท่านหนึ่งนาม เท็ด สเตรโลว์
ท่านเท็ดได้ฝากงานวิจารณ์นี้ไว้เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๐ ในมุมมองว่าเป็นวรรณคดีแท้ มิใช่เป็นประวัติศาสตร์ดังเช่นผู้อ่านท่านอื่นที่เป็นทั้งไทยและฝรั่งมอง
ท่านเท็ดได้วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา อย่างไม่เกรงอกเกรงใจใคร อย่างมีหลักการในแบบฉบับชาวตะวันตก เปี่ยมด้วยความรู้สึกชื่นชมต่อตัววรรณกรรม และออกตัวว่าความรู้ของท่านที่เกี่ยวกับพุืทธศาสนาและจิตใจความนึกคิดของคนไทยนั้นมีน้อยเต็มทีหรือแทบจะไม่มีเลย อีกทั้งในเมืองไทยเวลานั้นก็ยังไม่มีวิธีเขียนวิจารณ์หนังสือที่แน่นอนพอเป็นหลักให้ยึดถือได้
ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินเรื่องราว บทบาทของแต่ละตัวละคร เหตุการณ์ขนบธรรมเนียมประเพณีวิถีชีวิตไทยอันเป็นแบคกราวด์ที่ท่านปรมาจารย์ผู้ให้กำเนิดเรื่องราวอมตะบอกว่าเป็นของจริงในช่วงสมัยรัชกาลที่ ๕ จนถึงรัชกาลที่ ๘ … ท่านเท็ดแจงไว้หมดด้วยภาษาไืทยเวอร์ชั่นฝรั่งที่อ่านแล้วสนุกดีแต่จับความค่อนข้างลำบาก…แต่ทว่าเป็นความท้าทายสำหรับคนไืทยอย่างเรา
ท่านเท็ดถึงกับบอกว่า เป็นที่น่าเสียดายที่หนังสือเรื่องนี้รู้กันอยู่แต่เฉพาัผู้ที่รู้ภาษาไทยเท่านั้น ควรจะแปลออกไปเป็็นภาษาอื่นๆอีกเพราะในวรรณคดีของประเทศไทย นวนิยายเรื่องนี้มีค่าสูงและน่าจะยกให้อยู่ในระดับเดียวกับวรรณคดีเรื่องอื่นเช่น ขุนช้างขุนแผน
ก็ถึงว่าสิ เมื่อเดือนก่อนเราจึงต้องฮึดฮัดอยู่หน้าทีวีคนเดียวเมื่อได้เห็นฝรั่งที่ไม่รู้จักเมืองไทยกับไม่ใส่ใจจะรู้จักจริงใช้แปลงทดลองการเกษตรในวังสวนจิตรลดาฯออกอากาศในโปรแกรมการจัดสวนยังไม่พอ ช่วงที่สัมภาษณ์คุณเจ้าหน้าที่ที่วัง…ว่าบรรดาแปลงทดลองผลผลิตการเกษตรตรงหน้าตั้งมากมายนั้นทำเพื่อใคร…ยังมีหน้าแสดงสีหน้าที่มันไม่ยอมเชื่อสักนิดว่าทำเพื่อเกษตรกรชาวไทยทุกคน!
(ฝรั่งพวกลิงได้แก้วไก่ได้พลอยไร้อารยะแบบนี้ บอกตรงๆ เราไม่เห็นด้วยเลยที่บ้านเราสมควรคิดหยิบยื่นโอกาสใดๆทั้งสิ้นให้)
กลับมาดูกันดีกว่าว่าคร่าวๆแล้วท่านเท็ดว่าอย่างไรบ้าง
“สืบเนื่องจากที่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และจีน ได้ริเริ่มโครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (Greater Mekong Subregion: GMS) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อส่งเสริมให้เกิดการขยายตัวทางการค้า การลงทุนอุตสาหกรรม การเกษตร และบริการ และยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง โดยสนับสนุนให้มีการติดต่อและการแข่งขันระหว่างกันนั้น รัฐบาลจากประเทศสมาชิก GMS จึงได้กำหนดแนวพื้นที่เศรษฐกิจในลุ่มแม่น้ำโขงจำนวน 9 เส้นทางหลัก ให้เป็นแนวพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจของอนุภูมิภาค และหนึ่งในเส้นทางที่ขณะนี้กำลังเริ่มปรากฎผลเชิงรูปธรรมได้แก่เส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก(East-West Economic Corridor: EWEC) หรือเส้นทางหมายเลข 9 (R9)”
—
“ด่านตรวจพืชมุกดาหาร กรมวิชาการเกษตร…..ได้ตรวจ ปล่อยสินค้าลอตแรกไปแล้ว เมื่อวันวาน (14 กรกฎาคม) 4 ตู้คอนเทนเนอร์ มี ลำไย จากเชียงใหม่ 2 ตู้ ส้มโอ จากนครปฐม 1 ตู้ และ มังคุด จากนครศรีธรรมราชอีก 1 ตู้….ช่วงแรกๆนี้คาดว่าจะผลักดันผลไม้ไทยไปจีนได้ไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาทต่อเดือน”
—
ในท่ามกลางกระแสข่าวลบอย่างเดียวมาโดยตลอดของผลไม้เฉกเช่นลำใย กับมีมาเป็นพักๆตามฤดูกาลสำหรับผลไม้ชนิดอื่นๆ
“แต่ก่อนมาพระบรมราโชบายอันใดที่จะทำไป ไม่ใคร่จะได้แสดงให้ราษฎรทราบเพราะเหตุว่า ถึงทราบก็ปราศจากความคิดฤากลับคิดเห็นการให้ผิดไปโดยมิได้แถลง เพราะความไม่เข้าใจเป็นที่ตั้ง จึงเป็นธรรมเนียมใช้นิ่งเสีย ไม่บอกว่ากระไร จัดไปทำไปทีเดียว ผิดกับประเทศอื่นๆ”
—
“ในเมืองเรานี้มีคนจำพวกหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีความรู้เล่าเรียนมาแต่เล็กแต่น้อย แต่ทำท่าคึกคักเหมือนรู้อะไรต่ออะไรพอพูดโวไปกับเขาได้ พวกนี้ได้ความรู้มาจากไหน…จากคำที่โจษกัน ฟังคนนั้นพูดนิดคนนี้พูดหน่อย แต่น่าจะได้จากหนังสือพิมพ์เสียเป็นพื้น จึงมีความสงสัยว่าหนังสือพิมพ์นี้ไม่มีประโยชน์ที่จะถึงนำปับลิคโอปีเนียนให้เด่นตามก็จริงอยู่ แต่พวกที่หาความรู้ร่อน ๆ น่ากลัวจะเรียนจากหนังสือพิมพ์มากกระมัง… บางคราวจึงเกิดรำคาญ เมื่อสำแดงความโง่ออกมา มีท่าทางที่จะชักพาให้คนอื่นคิดตาม แล้วไม่มีผู้ใดแก้ ก็ดูเหมือนความคิดนั้นถูก ก็ยิ่งจะชักพาคนพวกนั้นงมเงาหนักลงไป…จึงเห็นว่า ถ้าหากว่าหนังสือพิมพ์ลงเฉไฉนัก… น่าที่เจ้าพนักงานในกระทรวงนั้นจะแก้ไขบอกความจริงเสีย อย่าปล่อยให้ความเข้าใจผิดคิดอยู่ในหนังสือเปล่า ๆ เป็นอันได้ทำการสั่งสอน พวกเรียนด้วยหูด้วยตา ให้คิดอะไรใกล้ข้างถูกขึ้น…ในเวลานี้คนพวกนั้นยังมีอยู่มาก ซึ่งคงจะหมดไป… จริงอยู่ แลคนพวกนั้นมักจะเป็นคนที่ฝรั่งเรียกเอปปิวปล หูตาว่องไว จึงได้ก้อรอก้อกางอยู่ได้ ถ้าสะกดให้รู้จักทางถูกเสียสักเล็กน้อย บางทีจะเป็นผลดีได้บ้างกระมัง”
[ส่วนหนึ่งในพระราชหัตถเลขาของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง]
กับความวุ่นวาย ความสงสัยไม่แน่ใจในสังคมไทยที่หลอกหลอนไม่หยุดไม่หย่อนในทุกวันนี้
ไม่ว่าจะเป็น(ไล่ตามข่าว)…
– วุฒิวอนสน.ราชเลขาฯแจงกฎถวายฎีกา
– อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย…มรดกโลกที่อยู่ในภาวะอันตรายจนอาจถูกถอด
– การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกขององค์การยูเนสโก
– และอื่นๆอีกมากมาย
บางทีบรรดาเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องน่าจะนำพระราชปรารภและพระบรมราชวินิจฉัยดังที่ปรากฏในพระราชหัตถเลขาทั้งสองพระองค์นี้เป็นแสงสว่างนำทางแก้ปัญหาบ้างก็น่าจะเป็นการดี
แทนที่จะสาละวนเป็นสาละวันดื้อด้านไร้ทิศทางไปวันๆ กับ ปล่อยปละให้ชาวบ้านสา๊ธารณชนตาดำๆช่วยตัวเองสับสนกันไปไม่จบไม่สิ้น
เพราะจะว่าไปแล้วความวุ่นไม่รู้จบนี้ก็เกิดด้วยพวกเอปปิวปลยังคงดำรงรักษาเผ่าพันธุ์เอาไว้ได้อย่างเหนียวแน่นตราบจนถึงบัดเดี๋ยวนี้นั่นแล
จริงหรือไม่ก็ลองอ่านและตรองกันดูก็แล้วกัน